นางร่อมละ หมีนสัน ผู้ให้สัมภาษณ์. อมรรัตน์ หมันเพ็ง ผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ ๑๗๒ หมู่ ๖ ตำบลละงู อำเภอละงู
จังหวัดสตูล. เมื่อ ๒ กุมพาพันธ์
๒๕๕๖.
จากการให้สัมภาษณ์
นางร่อมละ หมีนสันได้เล่าว่า ขนมไข่โบราณมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมเลเซีย
ซึ่งไม่ทราบถึงว่าเกิดขึ้นเมื่อไร่
แต่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษต่อๆกันมาสู่ลูกหลานจนถึงปัจุบันนี้
ลักษณะของขนมไข่ : เป็นวงรี ยาวไม่เกิน 4 ซม. กลมๆคล้ายดอกไม้และสมัยปัจจุบันได้มีเป็นรูปปลาด้วย สาเหตุที่มีรูปร่างลักษณะนั้น เพราะขนมไข่มาจากประเทศมเลเซีย
พิมพ์ที่ทำขนมไข่ก็ซื้อมาจากประเทศมาเลเซียด้วย
ขนมไข่ : มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีส่วนผสมของแป้งไข่และน้ำตาลเป็นหลักขนมไข่เป็นขนมโบราณอย่างหนึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รู้จักและเห็นคุณค่าของขนมโบราณ
ขนมไข่ใช้ในเทศกาล : นิยมกันทั่วทุกภาคของประเทศไทยเช่นภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือและส่วนใหญ่มักจะทำเป็นของฝาก
ซึ่งเรียกกันว่าขนมไข่อบโบราณหรือขนมไข่โบราณสูตรต้นตำหรับ
ภาคใต้นั้นก็เรียกว่าขนมไข่เช่นกันแต่คนส่วนใหญ่ภาคใต้นั้นนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ
๘๐
และมีพื้นที่ติดชายแดนมาเลเซียซึ่งมีคนพูดภาษามลายูจึงทำให้บางพื้นที่เรียกขนมไข่ว่า “ขนมบูหลู” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษามลายู
ภาคใต้มักใช้ขนมไข่ในวันสำคัญต่างๆของทั้งศาสนาพุทธในเทศกาลงานสารทเดือน ๑๐
งานขึ้นบ้านใหม่ และศาสนาอิสลามในวันฮารีรายอส่วนใหญ่เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น