Translate

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แป้งที่ใช้ทำขนมไทย

        แป้งข้าวเจ้า (Riceflour) มีลักษณะเป็นผงมีสีขาวจับแล้วสากมือเล็กน้อย 
     แป้งข้าวเหนียว (Glutinous Riceflour) เป็นแป้งที่ทำมาจากเมล็ดข้าวเหนียว ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับแล้วสากมือเล็กน้อย 
      แป้งมันสำปะหลัง (Cassave Starch) ทำมาจากหัวมันสำปะหลัง มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับผิวสัมผัสของแป้งจะเนียน ลื่นมือ 
     แป้งข้าวโพด (Corn Starch) เป็นแป้งที่สกัดมาจากเมล็ดข้าวโพด มีลักษณะเป็นผงสีขาวเหลืองนวลจับแล้วผิวสัมผัสของแป้งเนียนลื่นมือ 
       แป้งถั่วเขียว (Mung bean Starch) เป็นแป้งที่สกัดมาจากถั่วเขียว เมล็ดแห้งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆจับผิวสัมผัสแล้วจะสากมือ 
      แป้งท้าวยายม่อม (Arrowroot Starca) สกัดมาจากหัวมันท้าวยายม่อม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงา 
     แป้งสาลี (Wheat Flour) ทำจากเมล็ดข้าวสาลี ลักษณะเป็นผงมีสีขาวเมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะร่วนเหลว
        แป้งสาลีสำหรับทำขนมปัง (Bread Flour) ทำจากข้าวสาลีชนิดหนัก มีปริมาณโปรตีน 12-13 เปอร์เซนต์ แป้งมีสีขาวนวล เมื่อสัมผัสผิวแป้งจะหยาบกว่าแป้งสาลีชนิดอื่น 
        แป้งสาลีอเนกประสงค์ (All purpose Flour) ทำจากข้าวสาลีชนิดหมักและชนิดเบาผสมรวมกัน มีโปรตีน 9-10 เปอร์เซนต์แป้งมีสีขาวนวลลักษณะหยาบแต่น้อยกว่าแป้งขนมปัง แป้งสาลีสำหรับทำเค้ก (Care Flour) ทำจากข้าวสาลีชนิดเบา มีปริมาณโปรตีน 6-9 เปอร์เซนต์ สีขาวเนื้อแป้งละเอียด

แหล่งที่มา : www.horapa.com

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อควรปฏิบัติ 10 ประการ ในวันตรุษจีน

สวัสดีในยามเย็นน้ะค้ะ..พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันตรุษจีนแล้วก็ได้นำข้อควรปฏิบัติในวันตรุษจีนมาฝากกันค้ะ



1. ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ
          วันที่ชาวจีนต้องไว้เจ้านี้ เราเรียกว่า "วันซาจั๊บ" ช่วงเช้าหลังจากที่ไหว้เจ้าในบ้าน คือ ตีจูเอี๊ยะ และไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงก็จะต้องไหว้ผีไม่มีญาติ โดยของไหว้ก็จะมีทั้งอาหารคาว เช่น เป็ด-ไก่ รวมถึงอาหารหวานด้วย จะมากหรือจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ไหว้ นอกจากนี้ก็ยังต้องมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร และเกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติได้นำออกไป อีกทั้งยังต้องจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ด้วย และเมื่อไหว้เสร็จก็ต้องจุดประทัด จากนั้นจึงเอาข้าวสารมาผสมกับเกลือแล้วนำมาโปรยเพื่อขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป

2. รวมญาติกินเกี๊ยว
          สิ่งที่สำคัญมากอีกหนึ่งประการของวันตรุษจีน คือ เป็นวันนัดรวมญาติ เพราะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวด้วยกันในวันซาจั๊บ ซึ่งถือเป็นมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ (วันแรกของปีใหม่ของชาวจีน คือ วันชิวอิก) และเหตุที่ต้องเป็น "เกี๊ยว" ก็เพราะรูปร่างของเกี๊ยวมีลักษณะเหมือนกับ "เงิน" ของจีน จึงแฝงความหมายเป็นนัยว่า ให้มั่งมีเงินทองนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เคล็ดไม่ลับ ดับสารพัดกลิ่น


ขนมไทยภาคเหนือ

            ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด