"ขนมไข่โบราณ"
จัดทำโดย "กลุ่มขนมไข่โบราณ" ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล
Translate
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
แป้งที่ใช้ทำขนมไทย
แป้งข้าวเจ้า (Riceflour)
มีลักษณะเป็นผงมีสีขาวจับแล้วสากมือเล็กน้อย
แป้งข้าวเหนียว (Glutinous Riceflour)
เป็นแป้งที่ทำมาจากเมล็ดข้าวเหนียว ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับแล้วสากมือเล็กน้อย
แป้งมันสำปะหลัง (Cassave Starch)
ทำมาจากหัวมันสำปะหลัง มีลักษณะเป็นผงสีขาว จับผิวสัมผัสของแป้งจะเนียน ลื่นมือ
แป้งข้าวโพด (Corn Starch)
เป็นแป้งที่สกัดมาจากเมล็ดข้าวโพด มีลักษณะเป็นผงสีขาวเหลืองนวลจับแล้วผิวสัมผัสของแป้งเนียนลื่นมือ
แป้งถั่วเขียว (Mung bean Starch)
เป็นแป้งที่สกัดมาจากถั่วเขียว เมล็ดแห้งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆจับผิวสัมผัสแล้วจะสากมือ
แป้งท้าวยายม่อม (Arrowroot Starca)
สกัดมาจากหัวมันท้าวยายม่อม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงา
แป้งสาลี (Wheat Flour)
ทำจากเมล็ดข้าวสาลี ลักษณะเป็นผงมีสีขาวเมื่อทำให้สุกจะมีลักษณะร่วนเหลว
แป้งสาลีสำหรับทำขนมปัง (Bread Flour)
ทำจากข้าวสาลีชนิดหนัก มีปริมาณโปรตีน 12-13 เปอร์เซนต์ แป้งมีสีขาวนวล เมื่อสัมผัสผิวแป้งจะหยาบกว่าแป้งสาลีชนิดอื่น
แป้งสาลีอเนกประสงค์ (All purpose Flour)
ทำจากข้าวสาลีชนิดหมักและชนิดเบาผสมรวมกัน มีโปรตีน 9-10 เปอร์เซนต์แป้งมีสีขาวนวลลักษณะหยาบแต่น้อยกว่าแป้งขนมปัง
แป้งสาลีสำหรับทำเค้ก (Care Flour)
ทำจากข้าวสาลีชนิดเบา มีปริมาณโปรตีน 6-9 เปอร์เซนต์ สีขาวเนื้อแป้งละเอียด
แหล่งที่มา : www.horapa.com
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ข้อควรปฏิบัติ 10 ประการ ในวันตรุษจีน
สวัสดีในยามเย็นน้ะค้ะ..พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันตรุษจีนแล้วก็ได้นำข้อควรปฏิบัติในวันตรุษจีนมาฝากกันค้ะ
1. ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ
วันที่ชาวจีนต้องไว้เจ้านี้ เราเรียกว่า "วันซาจั๊บ" ช่วงเช้าหลังจากที่ไหว้เจ้าในบ้าน คือ ตีจูเอี๊ยะ และไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงก็จะต้องไหว้ผีไม่มีญาติ โดยของไหว้ก็จะมีทั้งอาหารคาว เช่น เป็ด-ไก่ รวมถึงอาหารหวานด้วย จะมากหรือจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ไหว้ นอกจากนี้ก็ยังต้องมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร และเกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติได้นำออกไป อีกทั้งยังต้องจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ด้วย และเมื่อไหว้เสร็จก็ต้องจุดประทัด จากนั้นจึงเอาข้าวสารมาผสมกับเกลือแล้วนำมาโปรยเพื่อขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป
2. รวมญาติกินเกี๊ยว
สิ่งที่สำคัญมากอีกหนึ่งประการของวันตรุษจีน คือ เป็นวันนัดรวมญาติ เพราะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวด้วยกันในวันซาจั๊บ ซึ่งถือเป็นมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ (วันแรกของปีใหม่ของชาวจีน คือ วันชิวอิก) และเหตุที่ต้องเป็น "เกี๊ยว" ก็เพราะรูปร่างของเกี๊ยวมีลักษณะเหมือนกับ "เงิน" ของจีน จึงแฝงความหมายเป็นนัยว่า ให้มั่งมีเงินทองนั่นเอง
วันที่ชาวจีนต้องไว้เจ้านี้ เราเรียกว่า "วันซาจั๊บ" ช่วงเช้าหลังจากที่ไหว้เจ้าในบ้าน คือ ตีจูเอี๊ยะ และไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงก็จะต้องไหว้ผีไม่มีญาติ โดยของไหว้ก็จะมีทั้งอาหารคาว เช่น เป็ด-ไก่ รวมถึงอาหารหวานด้วย จะมากหรือจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้ไหว้ นอกจากนี้ก็ยังต้องมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร และเกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติได้นำออกไป อีกทั้งยังต้องจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ด้วย และเมื่อไหว้เสร็จก็ต้องจุดประทัด จากนั้นจึงเอาข้าวสารมาผสมกับเกลือแล้วนำมาโปรยเพื่อขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป
2. รวมญาติกินเกี๊ยว
สิ่งที่สำคัญมากอีกหนึ่งประการของวันตรุษจีน คือ เป็นวันนัดรวมญาติ เพราะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนในครอบครัวจะต้องเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวด้วยกันในวันซาจั๊บ ซึ่งถือเป็นมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ (วันแรกของปีใหม่ของชาวจีน คือ วันชิวอิก) และเหตุที่ต้องเป็น "เกี๊ยว" ก็เพราะรูปร่างของเกี๊ยวมีลักษณะเหมือนกับ "เงิน" ของจีน จึงแฝงความหมายเป็นนัยว่า ให้มั่งมีเงินทองนั่นเอง
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เคล็ดไม่ลับ ดับสารพัดกลิ่น
ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)